ข้อมูลพืื้นฐาน
โครงสร้างส่วนราชการ
งานงบประมาณ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
งานป้องกันและปราบปรามการทุจริต
คู่มือบริการประชาชน
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
การสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
หัวข้อหลัก
งานบริหารงานบุคคล
งานจัดหาพัสดุ
งานกิจการสภา
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก


  หน้าแรก     การกู้ยืมเงิน 

การกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงิน  

การกู้ยืมเงิน 

         ความหมาย :
              การกู้ยืมเงินและสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้มีความต้องการจะใช้เงินแต่ตนเองมีเงินไม่พอหรือมีเงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงจะใช้คืนภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งการกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ยืมในการกู้ยืมนี้ ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ 
              
ตัวอย่าง นายดำ ต้องการซื้อรถราคา 150,000 บาทแต่นายดำไม่มีเงิน นายดำจึงไปขอยืมเงินจากนายแดง โดยตกลงจะใช้คืนภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่กู้ยืม ดังนั้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีแล้ว นายดำ (ผู้กู้)ต้องใช้เงินคืนให้แก่นายทองแดง 

     
    ดอกเบี้ย : 
              
ในการกู้ยืมเงินกันนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบบังคับคนจนกฎหมายจึงได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ว่าต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคารซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน)ถ้าดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทั้งหมดคือไม่ต้องการใช้ดอกเบี้ยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราด้วยคือ อาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2495 

         หลักฐานการยืม : 
               ในการตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินนั้น ถ้าหากว่ากู้ยืมกันเป็นจำนวนเงินเล็กน้อยไม่เกิน 50 บาท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือแสดงถึงการกู้ยืมหรือทำสัญญาไว้ต่อกัน เช่น ยืมเงิน 20 บาท หรือ 30 บาทแล้วแต่พูดจาตกลงกันก็พอ แต่ถ้าหากว่ากู้ยืมเป็นจำนวนเกินกว่า 50 บาทต้องทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสัญญากู้ไว้ต่อกันเพื่อจะได้ใช้หลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาในหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือดังกล่าวนี้ต้องมีข้อความแสดงว่าได้กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเท่าใดมีกำหนดใช้คืนเมื่อใด และที่สำคัญจะต้องมีการลงลายมือชื่อผู้กู้ 
         
ตัวอย่างหลักฐานการกู้ยืมเงิน 
              
ข้าพเจ้า นายดำได้กู้ยืมเงินจากนายสมศักดิ์เป็นจำนวน 3,000 บาท (สามพันบาท) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2530 มีกำหนดใช้คืนภายใน 1 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
ลงชื่อ ดำผู้กู้ 
               หากว่าในขณะกู้ยืมเงินกันแต่มีการตกลงรับเอาสิ่งของแทนจำนวนเงินที่กู้ยืมกันนั้นต้องคิดราคาของตลาดของสิ่งนั้นเป็นจำนวนเงินที่กู้จริงนั้น เช่นมีการตกลงกู้ยืมเงินกัน 500 บาท แต่มีการตกลงให้รับข้าวสารแทน 2 กระสอบซึ่งในขณะนั้นข้าวสารกระสอบละ 150 บาท ดังนั้นเราถือว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงเพียง 300 บาทเท่านั้น 

           อายุความ :
              
การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้จะต้องกระทำภายในกำหนดอายุความซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระคืน 
            
ตัวอย่างแดง กู้ยืมเงินดำเมื่อ 27 มิถุนายน 2530 จำนวน 10,000 บาท เป็นเวลา 1 ปีดังนั้นหนี้รายนี้ถึงกำหนดในวันที่ 27 มิถุนายน 2531 ผู้ให้กู้ต้องฟ้องเรียกเงินที่กู้ยืมคืน ภายใน 27 มิถุนายน 2541 

            
ข้อควรระมัดระวังในการกู้ยืม 
              (1) อย่าได้ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเป็นอันขาด 
              (2)
อย่าได้นำโฉนดไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน
              (3)
จะต้องนับเงินให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา 
              (4)
ผู้ยืมต้องเขียนตัวเงินเป็นตัวหนังสือด้วย 
              (5)
สัญญาที่กู้ต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้กู้ยึดถือไว้ฉบับหนึ่งและให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้อีกฉบับหนึ่ง 
              (6)
ในสัญญากู้ควรมีพยานฝ่ายผู้กู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอย่างน้อย 1 คน 

      
    ข้อปฏิบัติในการชำระเงิน :
               เมื่อผู้กู้นำเงินไปชำระไม่ว่าจะเป็นการชำระทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตามผู้กู้ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้มิฉะนั้นจะอ้างยันผู้ให้กู้ว่าชำระเงินกู้ให้เขาคืนแล้วไม่ได้ 

         
สิ่งที่ผู้กู้ควรกระทำเมื่อชำระเงินคือ 
               (1)
รับใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือที่มีข้อความว่าได้ชำระเงินที่กู้มาแล้วทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนและมีลายเซ็นผู้ให้กู้กำกับไว้ด้วย
               ตัวอย่าง ข้าพเจ้า นายสมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์ได้รับเงินคืนจาก นายดำ เกิดมาก ผู้กู้เป็นจำนวน 5,000 บาท                                               
           ลงชื่อ สมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์
ผู้ให้กู้ 
                                                                             27 มิถุนายน 2530 

              (2) รับหนังสือสัญญากู้เงินที่ได้ทำไว้แก่ผู้ให้กู้คืนมาในกรณีที่ชำระเงินครบตามจำนวนเงินที่กู้ 
              (3)
มีการบันทึกลงในสัญญากู้ว่าได้นำเงินมาชำระแล้วเท่าไรและให้ผู้ให้กู้ต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ทุกครั้งที่มีการชำระเงินจึงจะอ้างยันได้ว่าได้ชำระเงินไปแล้ว

หัวข้อหลัก

นายทองสุข บรรดาศักดิ์
นายก อบต.หนองเยือง
กระดานสนทนา
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
กันยายน 2567
อา พฤ
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 2021
22 23 24 25 26 27 28
29 30 1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
วันที่ 20 กันยายน 2567
หัวข้อหลัก

หัวข้อหลัก
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์นี้
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
พอใช้
ต้องปรับปรุง
หัวข้อหลัก
ออนไลน์ทั้งหมด 8 คน
หมายเลข IP 44.220.247.152
คุณเข้าชมลำดับที่ 933,593

หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
หัวข้อหลัก
หัวข้อหลัก
               
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเยือง
123 หมู่ที่ 3 บ้านห้วยเหี้ย ตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31120
Tel : 0-4466-6240
Email : nongyueng123@gmail.com
Copyright © 2023 by OPSTECH All Right Reserved. 
ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์